อำนาจหน้าที่ของโรงเรียนบ้านดอนแบก(สุขประชา)
1. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
1) พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545 ฉบับที่ 3 พ.ศ.2553
2) พรบ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 มาตรา 35 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2)
พ.ศ. 2553
3) พรบ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 5 พ.ศ.2543
4) พรบ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 8 พ.ศ.2553
5) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานใน สำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษา พ.ศ.2560
5) กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและจัดการศึกษา พ.ศ. 2550
7) ระเบียบ กฎหมายอื่น ๆ

2. บทบาทหน้าที่ของโรงเรียนพุนพินพิทยาคม
1) จัดทำนโยบาย แผนพัฒนาการศึกษา ให้สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกระทรวงศึกษาธิการ
2) จัดตั้งงบประมาณ และรับผิดชอบการใช้จ่ายงบประมาณ
3) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
4) จัดการเรียนการสอน จัดสภาพแวดล้อม บรรยากาศการเรียนการสอนที่เหมาะสมและส่งเสริม
กระบวนการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตลอดจนส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองของผู้เรียน
5) ออกระเบียบข้อบังคับต่างๆรวมทั้งระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษา
6) กำกับ ติดตาม ประเมินผลงานตาม แผนงานโครงการ และประเมินผลการปฏิบัติงาน ตลอดจนการ
พิจารณาความดีความชอบ การพัฒนา และการดําเนินงานทางวินัยกับครูและบุคลากรทางการศึกษา
7) ประสานการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษารวมทั้งปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้และจัดหาผลประโยชน์
จากทรัพย์สินของโรงเรียนทั้งที่เป็นราชพัสดุและทรัพย์สินอื่นๆ ตามระเบียบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
8) จัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ความร่วมมือในการประเมินคุณภาพการศึกษา
จากหน่วยงานภายนอก รวมทั้งการรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
9) ส่งเสริมความเข้มแข็งในชุมชน และสร้างความสัมพันธ์กับสถาบันอื่นๆ ในชุมชนและท้องถิ่น
10) ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการภายในหรือตามที่ได้รับมอบหมายและตามที่กฎหมายกําหนดให้
3. หลักการและแนวคิด
1. จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาเป็นไปตามกรอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานสอดคลองกับสภาพ
ปัญหา ความต้องการของชุมชนและสังคมอย่างแท้จริง โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน
2. มุ่งส่งเสริมสถานศึกษาใหจัดกระบวนการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
3. มุ่งส่งเสริมให้ชุมชนและสังคมมีส่วนร่วมในการกำหนดหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ รวมทั้งเป็นเครือข่าย
และแหล่งการเรียนรูh
4. มุ่งจัดการศึกษาใหมีคุณภาพและมาตรฐาน โดยจัดให้มีดัชนีชี้วัดคุณภาพการจัดหลักสูตรและ
กระบวนการเรียนรู้ สามารถตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษาได้ทุกชั้นปี
5. มุ่งส่งเสริมให้มีความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเป็นเครือข่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ในการจัด
และพัฒนาคุณภาพการศึกษา
6. ยึดหลักความเท่าเทียมและความเสมอภาคทางโอกาสทางการศึกษาของผู้เรียนในการจัดสรรงบประมาณ
เพื่อจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
7. มุ่งพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการงบประมาณตามมาตรฐานการจัดการทางการเงินทั้ง 7
ด้าน เพื่อรองรับการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ดังนี้
(1) การวางแผนงบประมาณ
(2) การคํานวณต้นทุนผลผลิต
(3) การจัดระบบการจัดหาพัสดุ
(4) การบริหารทางการเงินและการควบคุมงบประมาณ
(5) การรายงานทางการเงินและผลการดําเนินงาน
(6) การบริหารสินทรัพย์
(7) การตรวจสอบภายใน
8. ยึดหลักการกระจายอำนาจในการบริหารจัดการงบประมาณ โดยจัดสรรงบประมาณให้เป็นไปในลักษณะ
ของวงเงินรวมแก่สถานศึกษา
9. มุ่งเน้นการเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบการจัดการงบประมาณของสถานศึกษาให้มี
ความเป็นอิสระในการตัดสินใจ มีความคล่องตัวควบคู่กับความโป่รงใส และความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้จาก
ผลสำเร็จของงานและทรัพยากรที่ใช้
9.1 ยึดหลักความต้องการและการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในการบริหารงานบุคคลของเขตพื้นที่
การศึกษาและสถานศึกษาตามนโยบาย กฎหมาย และหลักเกณฑ์ที่กําหนด
9.2 ยึดหลักความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคลของเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตาม
นโยบาย กฎหมาย และหลักเกณฑ์ที่กำหนด
9.3 ยึดหลักธรรมาภิบาล
10. โรงเรียนมีความเป็นอิสระในการบริหารและจัดการศึกษาด้วยตนเองให้มากที่สุด โดยเขตพื้นที่
การศึกษามีหน้าที่กำกับ ดูแล ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานในเชิงนโยบายให้สถานศึกษาจัดการศึกษาให้
เป็นไปตามนโยบายและมาตรฐานการศึกษาของชาติ
11. มุ่งส่งเสริมประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษาตาม
หลักการการบริหารงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นหลัก โดยเน้นความโป่รงใส ความรับผิดชอบ ที่ตรวจสอบได้
ตามกฎเกณฑ์ กติกา ตลอดจนการมีส่วนร่วมของบุคคล ชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง
12. มุ่งพัฒนาองค์กรระดับสถานศึกษาให้เป็นองค์กรสมัยใหม่ โดยนํานวัตกรรมและเทคโนโลยี มาใช้อย่าง
เหมาะสม สามารถเชื่อมโยงติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วด้วยระบบเครือข่ายและเทคโนโลยีที่ทันสมัย
13. การบริหารทั่วไปเป็นกระบวนการสำคัญที่ช่วยประสานส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารงานอื่น ๆ ให้
บรรลุผลตามมาตรฐานคุณภาพและเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยมีบทบาทหลักในการประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และ
การอํานวยความสะดวกต่าง ๆ ในการให้บริการการศึกษาทุกรูปแบบ ทั้งการศึกษา ในระบบ นอกระบบ และ
การศึกษาตามอัธยาศัย ตามบทบาทของสถานศึกษา ตลอดจนการจัดและให้บริการการศึกษาของบุคคล ชุมชน
องค์กร หน่วยงานและสถาบันสังคมอื่น